ออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ (COMMUNITY MALL) ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง?
BY TWIST DESIGN RESEARCH TEAM
การออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ (Community Mall Design) ที่ดี ไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่สำหรับช้อปปิ้งเท่านั้น แต่ควรเป็นศูนย์กลางสำหรับการพบปะสังสรรค์ พักผ่อน และการใช้ชีวิตของผู้คน องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ที่ดี บริษัททวิส ดีไซน์ สตูดิโอ ได้ทำการรีเสริช ถึงแนวทางการออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ควรประกอบด้วย
1. ออกแบบให้มีการเข้าถึงที่ดี (Traffic & Circulation)
ปัจจัยสำคัญหลักของการออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ และพื้นที่พาณิชชย์ คือการออกแบบให้มี Traffic หรืออยู่ในจุดที่ผ่านไปมาของผู้คน ทั้งรถยนต์ และคนเดินเท้า ฉะนั้นการออกแบบอาคารจะต้องเปิดโอกาสให้เกิดการเข้าถึง และเพิ่มการมองเห็นทั้งภายนอก และภายในอาคาร การเดิน หรือการเคลื่อนไหวภายในอาคารนั้นมีความราบรื่น ทางเดินเข้าใจง่าย มีป้ายบอกทางที่ชัดเจน (Wayfinding) รวมทั้งการสร้างประสบการณ์ระหว่างการเดินภายในอาคาร ซึ่งจะส่งผลต่อระยะเวลา และเพิ่มโอกาสการซื้อ จับจ่ายใช้สอย
2. อัตลักษณ์ (IDENTITY)
อัตลักษณ์ (Identity) คือ ส่วนสำคัญในแง่การตลาดของคอมมูนิตี้มอลล์ ที่จะช่วยให้เกิดความแตกต่าง (DIFFERENTIATION) และส่งเสริมจุดขายของคอมมูนิตี้มอลล์ การสร้างอัตลักษณ์สามารถทำได้ตั้งแต่การวางคอนเซปพื้นที่ รวมไปถึงการออกแบบอาคาร ในแง่ของภาพลักษณ์ ประสบการณ์ เพื่อให้เกิดการเข้ามาใช้ซ้ำของลูกค้า และผสานอัตลักษณ์ดังกล่าวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เมือง
3. สร้างพื้นที่สาธารณะ (PUBLIC SPACES)
พื้นที่สาธารณะ เป็นส่วนที่เอื้อให้เกิดกิจกรรมพักผ่อน และส่งเสริมการพบปะสังสรรค์ ระหว่างในครอบครัวและเพื่อนฝูง ในการออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์ อาจจะประกอบด้วยการผสมผสาน สวนสาธารณะ ลานกลางแจ้ง พื้นที่นั่ง และพื้นที่สีเขียว โดยพื้นที่เหล่านี้อาจจะเอื้อให้เกิดการรวมตัวของชุมชน เพื่อให้คอมมูนิตี้มอลล์ เป็นจุดหมายสำหรับงานกิจกรรม พบปะ ระหว่างคนบริเวณโดยรอบ
5.การจัดสรรผู้เช่าให้เหมาะสม (TENANT ALLOCATION)
คอมมูนิตี้มอลล์ที่ควรจะมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการเลือกผู้เช่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ และส่งเสริมประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในคอมมูนิตี้มอลล์ ฉะนั้นควรที่มีการวิเคราะห์ตั้งแต่ ตำแหน่งการจัดวาง สัดส่วนระหว่างร้านค้า ร้านอาคาร ความบันเทิง บริการต่าง ซุปเปอร์มาเก็ต เพื่อให้ผู้ใช้งานเกิดประสบการณ์ตามกลยุทธ์ และการตลาดที่วางไว้ของโครงการ
4. การออกแบบความยั่งยืน (Sustainable design)
การสร้างความยั่งยืนคือ การออกแบบให้คอมมูนิตี้มอลล์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน ยกตัวอย่างเช่น ใช้ระบบแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน ติดตั้งโซลาเซลล์ การใช้ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ วิธีการดังกล่าวนอกเหนือจากส่งเสริมความยั่งยืนระยะยาวของคอมมูนิตี้มอลล์แล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในระยะยาวเช่นกัน
6. พื้นที่ที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้
การออกแบบมอลล์ที่ดีต้องมีพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าแบบป๊อปอัพ ตลาดตามฤดูกาล หรือกิจกรรมชุมชน พื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้คอมมูนิตี้มอลล์ มีความเคลื่อนไหวและน่าสนใจ กระตุ้นให้ผู้มาเยือนกลับมาใช้บริการซ้ำและมีส่วนร่วมในระยะยาว